- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
กิจกรรมที่ 6
DATA for Computer Project
เรื่อง Panic Disorder
โรคแพนิค (Panic Disorder) เป็นเรื่องที่เราได้ยินกันบ่อยขึ้นในสังคมปัจจุบัน สังเกตได้จากการที่
เราใช้คำว่า “แพนิค” กันมากขึ้น เช่น เวลาพูดกับเพื่อนที่กำลังตกใจเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ใดเหตุการณ์
หนึ่ง มักพูดว่า
“อย่าแพนิค มีสติเข้าไว้” เป็นต้น
อย่างไรก็ตามเราอาจไม่รู้เลยว่าแท้จริงแล้วอาการต่าง ๆ ที่บ่งชี้ว่าเป็นโรคแพนิคนั้น ประกอบด้วยอะไรบ้าง แล้วมีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง เราควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาอาการดังกล่าวหรือไม่ หรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอื่นได้อีกหรือไม่ ลองอ่านบทความนี้และทำแบบทดสอบเพื่อประเมินเบื้องต้นกันดู
โรคแพนิค (Panic Disorder) คืออะไร ?
โรคแพนิค (Panic Disorder) คือ โรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง หรือเรียกว่า โรคตื่นตระหนก ผู้ที่เป็นมักมีความ
รู้สึกกลัว ตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก แบบไม่คาดคิดมาก่อน และเกิดขึ้นซ้ำ ๆ จนส่งผลกระทบต่อชีวิตประ
จำวัน และมีความกังวลว่าจะเป็นขึ้นมาอีก
การประเมินโรคแพนิคเบื้องต้น จากอาการดังต่อไปนี้ท่านสามารถประเมินตนเองเบื้องต้นได้จากแบบ
ทดสอบนี้ ว่ามีความกลัววิตกกังวลหรือความอึดอัดไม่สบายใจอย่างรุนแรง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
โดยมีอาการในหัวข้อต่อไปนี้ ตั้งแต่ 4 อาการขึ้นไป ซึ่งอาการในหัวข้อดังกล่าว
- ใจสั่น ใจเต้นแรง หรือใจเต้นเร็วมาก
- เหงื่อแตก
- ตัวสั่น มือเท้าสั่น
- หายใจไม่อิ่ม หรือ หายใจขัด
- รู้สึกอึดอัด หรือแน่นอยู่ข้างใน
- เจ็บหน้าอก หรือแน่นหน้าอก
- คลื่นไส้ ท้องไส้ปั่นป่วน
- วิงเวียน โคลงเคลง มึนตื้อ หรือเป็นลม
- ครั่นเนื้อครั่นตัว หนาวสั่น ร้อนวูบวาบ เหมือนจะเป็นไข้
- รู้สึกชา หรือรู้สึกซ่า ๆ (paresthesia)
- รู้สึกเหมือนสิ่งรอบตัวเปลี่ยนแปลงไป (derealization หรือ depersonalization)
- กลัวคุมตัวเองไม่ได้ หรือกลัวเป็นบ้า
- กลัวว่าตนเองกำลังจะตายสาเหตุของโรคแพนิค (Panic Disorder) มีสาเหตุมาจากอะไร?
โรคแพนิคเกิดขึ้นได้ในคนทั่ว ไป เกิดจากได้หลายสาเหตุ ไม่สามารถบอกได้ว่าเกิดจากปัจจัยใด
ปัจจัยหนึ่ง
สาเหตุทางกาย ได้แก่
- ปัจจัยด้านพันธุกรรม : ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรควิตกกังวล มีโอกาสเกิดอาการได้
- มากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติในเครือญาติ
- ปัจจัยด้านฮอร์โมนในร่างกาย : ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง อาจทำให้สารเคมีในสมองเสีย
- สมดุลการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติไป เกิดเป็นโรคแพนิคได้
สาเหตุทางจิตใจ
- ความเครียด ความวิตกกังวล พฤติกรรมหลายอย่างในชีวิตประจำวัน เป็นส่วนหนึ่งที่กระตุ้น
- ให้เกิดอาการแพนิคได้ เช่น การใช้ชีวิตที่เร่งรีบ ทำงานกับหน้าจอคอมพิวเตอร์หรืออยู่กับมือถือ
- เป็นเวลานาน
- พักผ่อนน้อย ไม่ออกกำลังกาย หรือต้องเผชิญกับสภาวะกดดัน เป็นต้น
- ผลกระทบทางจิตใจอย่างรุนแรง เช่น การสูญเสีย ผิดหวังรุนแรงอาการของโรคแพนิค
- (Panic Disorder) มีอะไรบ้าง และอาการร่วมกับโรคอื่นมีอะไรบ้าง ?
ผู้ป่วยที่เป็นโรคแพนิค จะมีอาการที่เรียกว่า “panic attack” นั่นก็คือกลุ่มอาการตามที่ปรากฎอยู่ใน
แบบทดสอบข้างต้นตั้งแต่ 4 ข้อขึ้นไป โดยเกิดขึ้นซ้ำ ๆ อย่างคาดการณ์ไม่ได้ และมีอาการอื่น ๆ ต่อเนื่องจากอาการเหล่านั้น
เป็นเวลานานกว่า 1 เดือน (หรือมากกว่า) ดังต่อไปนี้
- กังวลว่าจะเกิดอาการขึ้นอีกอยู่ตลอดเวลา
- กังวลว่าอาจเกิดโรคร้ายแรงหรือกังวลเกี่ยวกับผลติดตามมา (เช่น คุมตัวเองไม่ได้ เป็นโรคหัวใจ เป็นบ้า เป็นต้น)
- พฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน เช่น ไม่กล้าอยู่คนเดียว เพราะกลัวจะเกิดอาการขึ้น หรือไม่กล้า
- ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติที่เคยทำเป็นประจำ
เนื่องจากการเกิดอาการอาจมีอาการคล้ายกับโรคอื่นได้หลายอย่าง เช่น อาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว
เป็นต้น จึงจำเป็นต้องตรวจร่างกายเพื่อค้นหาโรคทางด้านร่างกายที่อาจเป็นสาเหตุให้มีอาการนั้น ๆ ก่อน
ตรวจคลื่นหัวใจ หรือ ส่งเจาะเลือดวัดระดับไทรอยด์ เป็นต้น
แต่ทั้งนี้ แม้ว่าผลการตรวจร่างกายปกติดี ก็ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้อย่างชัดเจนว่าเป็นโรคแพนิค
(Panic Disorder) เนื่องจากว่ายังมีโรคทางจิตเวชอื่นๆ สามารถเกิดอาการ panic attack ได้เช่นกัน
ได้แก่
- โรคกลัวที่ชุมชน หรือ Agoraphobia
กังวลต่อการเข้าไปเกี่ยวข้องหรือไปอยู่ในสถานที่หรือสถานการณ์ที่อาจหลีกเลี่ยงได้ลำบาก หรืออาจไม่ได้
รับการช่วยเหลือ เช่น การออกนอกบ้านตามลำพัง การอยู่ท่ามกลางหมู่คนหรือยืนต่อแถว การอยู่บนสะพาน
และการเดินทางโดยรถเมล์ รถไฟ หรือรถยนต์
- โรคกลัวเฉพาะอย่าง หรือ Specific Phobia: กังวลหรือหวาดกลัวอย่างรุนแรงต่อการอยู่ในสถาน
- การณ์ใดสถานการณ์หนึ่งโดยเฉพาะ หรือมีอาการต่อสถานการณ์เพียงไม่กี่สถานการณ์เท่านั้น
- เช่น การขึ้นลิฟท์
- โรคกลัวสังคม หรือ Social Phobia: กังวลต่อการพบปะผู้คน อาจรู้สึกประหม่าหากต้องอยู่ในสถาน
- การณ์ที่รู้สึกว่ามีคนจับจ้องมาที่ตนเอง เช่น การพูดต่อหน้าผู้คนจำนวนมาก
- โรคทางจิตเวชอื่น ๆ เช่น โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-Compulsive Disorder) เช่น บางคนหลีก
- เลี่ยงสิ่งสกปรกเนื่องจากหมกมุ่นกับการกลัวติดเชื้อโรค
โรคเครียดภายหลังจากเหตุการณ์ร้ายแรง (Posttraumatic Stress Disorder) เช่น หลีกเลี่ยงสิ่งเร้า ที่เกี่ยวข้องกับความกดดันที่รุนแรงนั้น หรือ - โรควิตกกังวลจากการพรากจาก (Separation Anxiety Disorder) เช่น หลีกเลี่ยงการห่างจากบ้าน หรือญาติ รวมทั้งโรคทางอารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า ก็สามารถเกิด panic attack ได้เช่นกัน
หากเป็นโรคแพนิค (Panic Disorder) ต้องรักษาอย่างไร ?
โรคแพนิค (Panic disorder) ไม่ได้เป็นโรคร้ายแรง หรือทำให้มีอันตรายถึงชีวิต แต่ทำให้เกิดความกังวลกับ
ผู้ที่เป็น และต้องรักษาหากกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตได้โดยปกติ
ซึ่งการรักษาแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
การรักษาด้วยยา
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมองเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคแพนิค ดังนั้นการ
รับประทานยา เพื่อไปปรับสมดุลของสารสื่อประสาทในสมองจึงมีความจำเป็น และใช้เวลาในการรักษา
ประมาณ 8-12 เดือน โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคของแต่ละบุคคล จากการศึกษาพบว่า
ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ที่เป็นโรคนี้ สามารถหายขาดได้
การรักษาทางใจ
คือการทำจิตบำบัดประเภทปรับความคิดและพฤติกรรม ซึ่งมีหลายวิธี เช่น
- ฝึกหายใจในผู้ป่วยที่มีอาการหายใจไม่อิ่ม หายใจเข้า – ออกลึก ๆ ช้า ๆ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ
- จากอาการ โดยหายใจเข้าให้ท้องป่องและหายใจออกให้ท้องยุบในจังหวะที่ช้า
- หลังจากนั้นร่างกายจะเริ่มผ่อนคลายและอาการก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายไปเอง
- รู้เท่าทันอารมณ์ของตน ตั้งสติ บอกกับตัวเองว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นแค่เรื่องชั่วคราว
- ได้และไม่อันตรายถึงแก่ชีวิตการฝึกการคลายกล้ามเนื้อในผู้ป่วยที่มีอาการปวดศรีษะ
- การฝึกสมาธิ
- การฝึกคิดในทางบวก
การรักษาโรคแพนิคนั้นควรต้องรักษาทั้งสองด้านควบคู่กันไป โดยการศึกษาวิจัยพบว่าการรักษาด้วย
ยาควบคู่ไปกับการรักษาทางด้านจิตใจ เป็นการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด
โรคแพนิค ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางง่ายๆ ผ่าน PR9 Telemedicine
Telemedicine คือ บริการปรึกษาแพทย์ผ่านทางออนไลน์ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารมาผนวกกับการ
บริการด้านสุขภาพ โดยให้บริการปรึกษาปัญหาสุขภาพแบบ real-time ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยโดยที่
ไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาล
สรุปในยุคปัจจุบันที่เราอาจใช้ชีวิตกันอย่างเร่งรีบ และ ต้องเผชิญความเครียดหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ
ที่บีบคั้นเรามากขึ้น อาจจะนำไปสู่ความเครียดสะสมที่ส่งผลกระทบกับจิตใจของเราได้อย่างไม่รู้ตัว
ทำให้บางคนมีอาการต่าง ๆ เช่น ใจสั่น ใจเต้นแรง ซึ่งมักทำให้ยิ่งตกใจมากขึ้น สิ่งที่จะช่วยเราได้อย่างแรก
คือตั้งสติให้ได้มากที่สุด และเมื่ออาการดังกล่าวหมดไป ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาและหาสาเหตุ
เพื่อให้เรากลับมา
ใช้ชีวิตได้อย่างปกติ และไม่ต้องกังวลใจกับอาการนั้น ๆ อีก
คลิปประกอบ
ที่มา https://www.praram9.com/panic-disorder/
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น